วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 1


ผ้าซิ่นตีนจก หรือผ้าซิ่นเชิงจก ของชาวบ้านคูบัว เมืองราชบุรี เป็นวัฒนธรรมที่ถูกสืบทอดกันมาในกลุ่มสตรีขาวลาวและไทยโยนกที่อพยพเข้ามาอยู่ที่บ้านคูบัวแห่งนี้เป็นลักษณะคล้ายลายผ้าซิ่นของชาวลับแล เมืองอุตรดิตถ์ และชาวศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัย ที่เรียกว่าลายยกมุก แต่ในบางครั้งก็เป็นการทอแบบมัดหมี่ผสมเช่นเดียวกับชาวอิสาน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2

วัดขนอน เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่ครั้งโบราณ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง เขตตำบล สร้อยฟ้า อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นวัดที่มีความสำคัญในการสืบสานวัฒนธรรมไทย การเล่นหนังใหญ่มานานนับร้อย ๆ ปี ปัจจุบันงานอนุรักษ์และสืบสานหนังใหญ่แห่งวัดขนอนได้มีการกระทำกันอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา หนังใหญ่ถือเป็นศิลปะพื้นบ้านที่เก่าแก่มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และได้ถูกกระแสวัฒนธรรมอื่นที่เก่นกว่าบดบังศิลปะของชาติประเภทนี้ไป แต่บังเอิญที่วัดขนอนแห่งนี้ได้มีผู้ที่รักคุณค่าของศิลปะระพื้นบ้านโบราณของไทย จึงได้ช่วยกันอนุรักษ์และเก็บรักษางานศิลปะนี้เอาไว้ และได้มีการเผยแพร่ จนเป็นที่รู้จักกันเกือบทั่วไปในปัจจุบัน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3

โอ่งมังกรและเครื่องเคลือบดินเผา ผลิตจากดินคุณภาพดีในราชบุรี นอกจากโอ่งลายมังกร ยังมีเครื่องปั้นดินเผาสำหรับตกแต่งบ้านอีกมาก โรงงานและร้านค้าอยู่ในตัวเมืองราชบุรี จำนวนมากกว่า ๔๐ แห่ง
นายจือเหม็ง แซ่อึ้ง เป็นชาวจีนโพ้นทะเล ที่มาเมืองไทย เมื่ออายุ ๒๓ ปี นายจือเหม็ง สนใจงานศิลปะ เครื่องปั้นดินเผา มาตั้งแต่เด็ก เป็นคนบุกเบิก ทำอุตสาหกรรม เครื่องปั้นดินเผา ที่จังหวัดราชบุรี และทำให้ เครื่องปั้นดินเผา ของจังหวัดราชบุรี โดยเฉพาะโอ่งมังกร มีชื่อเสียง ไปทั่วประเทศ